CITES
ไซเตส (CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526
คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือ
สัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้
พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตร
สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมง
ปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน
จุดประสงค์ของ CITES คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)
สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือ
สัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้
พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตร
สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมง
ปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน
จุดประสงค์ของ CITES คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)
สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
No comments:
Post a Comment