มาตรฐานการผลิตกุ้งคุณภาพ
กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ ควบคุมและตรวจสอบการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการจำหน่ายและเพื่อการบริโภค เมื่อกุ้งทะเลเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง จึงต้องมีการควบคุมและตรวจสอบกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตกุ้งที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มาตรฐานของการผลิตกุ้ง คุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพื่อความยั่งยืนของไทยจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นการผสมผสานแนว มาตรฐานของกรมประมงสำหรับในส่วนของการแปรรูปที่มีอยู่เดิมเป็นส่วนซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล CODEX รวมถึงการจับและการขนส่ง กับมาตรฐาน Code of Conduct ด้วย ในส่วนของฟาร์มนั้นได้มีการจัดทำขึ้นมาใหม่ตาม แนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐาน CODEX และ Code of Conduct ของ FAO
ส่วนของต้นสายการผลิตกุ้งทะเลคือ การเพาะและการเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมงจัดทำมาตรฐานฟาร์มเพาะและเลี้ยงกุ้งทะเล Code of Conduct โดยแยกเป็น 2 ประเภทคือ โรงเพาะฟัก/อนุบาลกุ้งทะเล และฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล โดยใช้หลักปฏิบัติ 11 ประการ ตั้งแต่การเลือกสถานที่ การจัดการการเลี้ยง อัตราการปล่อยกุ้ง อาหาร สุขภาพกุ้ง ยาและสารเคมี น้ำทิ้งและตะกอนเลน การจับกุ้งและการขนส่ง ความรับผิดชอบต่อสังคม การรวมกลุ่มของเกษตรกร และการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยง
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งทะเลนั้น กรมประมงมีการตรวจรับรองคุณภาพอาหารโดยการรับขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์น้ำ การออกใบอนุญาตให้ผลิตและนำเข้าอาหารสัตว์น้ำ ทั้งยังมีการสุ่มตรวจสอบอาหารกุ้งจากโรงงาน เพื่อควบคุมให้กระบวนการผลิตคงคุณภาพของอาหารสัตว์น้ำ
เมื่อได้ผลผลิตกุ้งจากต้นสายการผลิตสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า โรงงานแปรรูปที่มีมาตรฐานการผลิต จะได้รับการรับรองคุณภาพการผลิต มาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point Principle) ซึ่งโรงงานแปรรูปต้องผ่านการตรวจสอบโดยจะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิต ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งได้รับใบรับรองสินค้าสัตว์น้ำ หากเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งเพื่อการส่งออกก็จะมีมาตรฐานการตรวจรับรองสินค้ากุ้งเพื่อการส่งออก
ผลิตภัณฑ์กุ้งที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเพื่อเป็นสินค้าเพื่อการส่งออกมี 3 ชนิดคือ ผลิตภัณฑ์กุ้งดิบแช่เยือกแข็ง (Frozen Raw Shrimp) ผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่เยือกแข็ง (Frozen Cooked Shrimp) และผลิตภัณฑ์กุ้งเพิ่มมูลค่า ( Frozen Value Added Shrimp Product )
จะเห็นได้ว่ากรมประมงได้ให้การรับรองคุณภาพกุ้งทะเลโดยใช้มาตรฐาน Code of Conduct กำหนดเป็น มาตรฐานการผลิตกุ้งทะเลตลอดสายการผลิต จากฟาร์มจนถึงโรงงานแปรรูปหรือผู้บริโภค (From Farm to Table ) เพื่อให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้การจัดทำมาตรฐานการผลิตกุ้งคุณภาพ กรมประมงได้ยึดหลักของการผลิตกุ้งเพื่อผู้บริโภคกุ้งปลอดภัย บริโภคกุ้งที่ปราศจากยาและสารเคมีตกค้าง และเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมเป็นหลักสำคัญของการกำหนดมาตรฐานการผลิตกุ้งคุณภาพ
ส่วนของต้นสายการผลิตกุ้งทะเลคือ การเพาะและการเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมงจัดทำมาตรฐานฟาร์มเพาะและเลี้ยงกุ้งทะเล Code of Conduct โดยแยกเป็น 2 ประเภทคือ โรงเพาะฟัก/อนุบาลกุ้งทะเล และฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล โดยใช้หลักปฏิบัติ 11 ประการ ตั้งแต่การเลือกสถานที่ การจัดการการเลี้ยง อัตราการปล่อยกุ้ง อาหาร สุขภาพกุ้ง ยาและสารเคมี น้ำทิ้งและตะกอนเลน การจับกุ้งและการขนส่ง ความรับผิดชอบต่อสังคม การรวมกลุ่มของเกษตรกร และการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยง
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งทะเลนั้น กรมประมงมีการตรวจรับรองคุณภาพอาหารโดยการรับขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์น้ำ การออกใบอนุญาตให้ผลิตและนำเข้าอาหารสัตว์น้ำ ทั้งยังมีการสุ่มตรวจสอบอาหารกุ้งจากโรงงาน เพื่อควบคุมให้กระบวนการผลิตคงคุณภาพของอาหารสัตว์น้ำ
เมื่อได้ผลผลิตกุ้งจากต้นสายการผลิตสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า โรงงานแปรรูปที่มีมาตรฐานการผลิต จะได้รับการรับรองคุณภาพการผลิต มาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point Principle) ซึ่งโรงงานแปรรูปต้องผ่านการตรวจสอบโดยจะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิต ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งได้รับใบรับรองสินค้าสัตว์น้ำ หากเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งเพื่อการส่งออกก็จะมีมาตรฐานการตรวจรับรองสินค้ากุ้งเพื่อการส่งออก
ผลิตภัณฑ์กุ้งที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเพื่อเป็นสินค้าเพื่อการส่งออกมี 3 ชนิดคือ ผลิตภัณฑ์กุ้งดิบแช่เยือกแข็ง (Frozen Raw Shrimp) ผลิตภัณฑ์กุ้งสดแช่เยือกแข็ง (Frozen Cooked Shrimp) และผลิตภัณฑ์กุ้งเพิ่มมูลค่า ( Frozen Value Added Shrimp Product )
จะเห็นได้ว่ากรมประมงได้ให้การรับรองคุณภาพกุ้งทะเลโดยใช้มาตรฐาน Code of Conduct กำหนดเป็น มาตรฐานการผลิตกุ้งทะเลตลอดสายการผลิต จากฟาร์มจนถึงโรงงานแปรรูปหรือผู้บริโภค (From Farm to Table ) เพื่อให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้การจัดทำมาตรฐานการผลิตกุ้งคุณภาพ กรมประมงได้ยึดหลักของการผลิตกุ้งเพื่อผู้บริโภคกุ้งปลอดภัย บริโภคกุ้งที่ปราศจากยาและสารเคมีตกค้าง และเน้นการรักษาสภาพแวดล้อมเป็นหลักสำคัญของการกำหนดมาตรฐานการผลิตกุ้งคุณภาพ
No comments:
Post a Comment