ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

27 December, 2006

เทคโนโลยี



ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมีกระบวนการต่างๆของการผลิตเป็นส่วนๆ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ คือ ของต้นสายการผลิตและปลายการผลิต แต่ละส่วนจะมีหน่วยย่อยของการผลิตจึงมีการดำเนินงานที่ต้องอาศัยเทคนิคและเทคโนโลยีในการจัดการเฉพาะทางเพื่อช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ มีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมประมงซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้จัดหาเทคโนโลยีและเทคนิคในการตรวจสอบดังนี้
เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งระบบปิด เป็นการจัดการเลี้ยงกุ้งที่เกษตรกรไม่ใช้น้ำแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเติมเข้ามาในบ่อเลี้ยงกุ้งโดยตรง ภายหลังจากที่ได้ปล่อยกุ้งลงเลี้ยงแล้ว เกษตรกรอาจจะต้องเติมน้ำลงไปในบ่อบ้างเล็กน้อย เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับเหมาะสมต่อการจัดการเลี้ยงกุ้ง

เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งระบบชีวภาพ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการจัดการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีนี้เน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ แพลงก์ตอน สาหร่าย หอย ปลา สัตว์ หน้าดิน ในการจัดการย่อยสลาย และควบคุมของเสียจำพวกสารอินทรีย์และธาตุอาหาร ในบ่อเลี้ยงกุ้ง
การตรวจสอบสารปฏิชีวนะ(Antibiotic)โดยเน้นสารต้องห้ามที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ เช่น คลอแรมฟินิคอล กลุ่มไนโตฟูแรน ออกโซลินิก แอซิด และออกซีเตรตร้าซัลคลินมีวิธีการตรวจสอบสารเหล่านี้จะใช้การตรวจสอบทางเคมีโดยใช้เทคนิค - HPLC สำหรับกลุ่มสารออกโซลินิก แอซิด และออกซีเตรตร้าซัลคลิน - ELISA สำหรับกลุ่มสารคลอแรมฟินิคอล - LC-MS-MS สำหรับกลุ่มสารไนโตฟูแรน
เทคโนโลยีการตรวจโรคเช่น PCR ที่นำมาใช้จะช่วยป้องกันตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะลูกกุ้ง เมื่อเราตรวจพบเชื้อไวรัสในพ่อแม่พันธุ์ก็จะไม่นำมาเพาะ ในลูกกุ้งก็เช่นกันถ้าพบเชื้อไวรัสต้องหลีกเลี่ยงที่จะนำมาลงเลี้ยงในบ่อ เช่นเดียงกับในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก็ต้องดูแลสุขภาพของกุ้งที่เลี้ยงเมื่อสังเกตุพบเห็นความผิดปกติสามารถนำตัวอย่างกุ้งมาตรวจสอบและวินิจฉัยโรคได้
Test Kits เป็นวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจสอบสารปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ต่างๆกลุ่มมสารปฏิชีวนะที่ตรวจพบเช่น คลอแรมเฟนิคอล เตตร้าซัยคลิน และไนโตรฟูแรนส์ โดยอาศัยหลักการของการทำปฏิกิริยาระหว่างสารที่ตรวจหากับสารเคมีของชุดทดสอบสารที่ตรวจหาแต่ละชนิดจะแสดงสีที่ต่างกันทำให้เราทราบในเบื้องต้นว่ามีสารปฏิชีวนะผสมอยู่ในอาหาร

No comments: