มาตรฐาน Code of Conduct (CoC)
มาตรฐานโค้ด ออฟ คอนดัค ( Code of Conduct ) หรือ ซีโอซี ( CoC ) สำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล หมายถึง การจัดระบบการผลิตกุ้งทะเลให้มีมาตรฐานเป็นระบบและการจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างยั่งยืนตลอดสายการผลิต จากฟาร์มถึงโรงงานแปรรูป เพื่อพัฒนาให้ได้กุ้งคุณภาพกุ้งคุณภาพที่มีลักษณะ 3 ประการ คือ 1. กุ้งที่ได้จากการผลิตอย่างมีมาตรฐาน 2. กุ้งที่มีคุณภาพและความปลอดภัย 3. กุ้งที่ผลิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การก้าวเข้าสู่มาตรฐานซีโอซี
มีข้อปฏิบัติ 11 ประการ (สำหรับโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล)
การเลือกสถานที่
ต้องเป็นที่ถูกต้องตามกฎหมายและอยู่นอกเขตป่าชายเลนไม่อยู่ในอิทธิพลของแหล่งมลภาวะ
การจัดการการเลี้ยงทั่วไปมีการจัดการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีประสิทธิภาพตาหลัก
วิชาการ
พ่อแม่พันธุ์ที่นำมาเพาะมีความสมบูรณ์ไม่เป็นพาหะของโรค
ความหนาแน่นการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยง ควรพิจารณาถึงคุณภาพและอายุของลูกกุ้งที่ปล่อยรวมทั้งพิจารณากำลังการผลิตของบ่อกุ้งที่สามารถรองรับจำนวนลูกกุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยงในแต่ละบ่อ
อาหารและการให้อาหารควรเลือกใช้อาหารกุ้งที่มีคุณภาพที่ดีผลิตใหม่และไม่ควรเก็บไว้นานหรือผลิตอาหารธรรมชาติที่เหมาะสม
มีการจัดการการให้อาหารที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการสุขภาพกุ้งควรตรวจสุขภาพกุ้งควบคู่กับการตรวจคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงอยู่เป็นประจำ
ยาและสารเคมีผู้เลี้ยงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงและไม่ควรใช้สารปฏิชีวนะต้องห้าม16ชนิด
น้ำทิ้งและตะกอนเลนควรมีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
การลำเลียงลูกกุ้ง
การจับกุ้งและการขนส่งเกษตรกรต้องวางแผนการจับและจำหน่ายอย่างรวดเร็ว
โดยเน้นการรักษาความสดมีการตรวจสารเคมีตกค้างในตัวกุ้งก่อนการจับ
ความรับผิดชอบทางสังคมควรใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างประหยัดและส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนท้องถิ่นและไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การรวมกลุ่มและการฝึกอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
ระบบการเก็บข้อมูลควรบันทึกข้อมูลด้านการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นข้อมูลในการผลิตรุ่นต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดจำหน่ายกุ้งและโรงงานแปรรูป ซึ่งมาตรฐานของการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของโรงงานแปรรูปของไทย ได้ถูกพัฒนาให้เข้าสู่มาตรฐานสากล (CODEX) มาตรฐาน HACCP มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ สำหรับการนำมาพัฒนาสู่มาตรฐาน Code of Conduct ทั้งหมดของส่วนปลายการผลิตนั้น เป็นการเพิ่มเติมมาตรฐานในส่วนการจับกุ้งจากฟาร์มและการขนส่งจากฟาร์มไปสู่โรงงานแปรรูป ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดจำหน่ายกุ้ง โดยมักจะเกี่ยวข้องตั้งแต่การจับกุ้ง การขนส่ง จนถึงการจำหน่ายให้แก่ผู้แปรรูป สำหรับมาตรฐาน Code of Conduct ในส่วนการจับและการขนส่งผลผลิตกุ้งจากฟาร์มกุ้งนี้ กรมประมงได้พัฒนาขึ้นมาจาก 2 มาตรฐานสุขอนามัยการผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ
No comments:
Post a Comment