ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

03 March, 2007

เกษตรฯบุกถกอินโดฯร่วมทุนประมง

"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550

24 February, 2007

ประกาศจากกรมประมง

ประกาศจากกรมประมงเรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานในการประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร

ด้วยกรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานอื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร อื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักรลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ ยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ในกรณียื่นขอนำฉลามทุกชนิด ทั้งมีชีวิตและซาก หรือเปลือกหอย เข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งออก ต้องแสดง หนังสือรับรองชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือหนังสือรับรองอื่นใดที่แสดงชนิดพันธุ์ซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐ (ประเทศต้นทาง) หรือหน่วยงานที่รัฐมอบหมาย ในการยื่นขออนุญาตนำเข้าแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ดูรายละเอียดประกาศคลิกที่นี่

13 February, 2007

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา Fish Marketing Organization
  • ความเป็นมาของหน่วยงาน
    ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
    บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
    -บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
    -การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
    -จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
    -บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)

    บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
  • วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน
  1. พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
  2. สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
  3. ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว
  • ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
  1. จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
  2. จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
  3. จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
  4. จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
  5. สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิหรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
  6. กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ
  • อำนาจหน้าที่
  1. กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
  2. กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
  3. กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
  4. สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
  5. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
  6. งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
  7. งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข
  • การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
  1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
  2. การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
  3. การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
  4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส
  • โครงสร้าง-แผนผังองค์กร
  1. กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
  2. กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
  3. กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
  4. สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
  5. สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
  6. สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
  7. ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
  8. ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
  9. ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
  10. ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
  11. ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
  12. ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
  13. ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
  14. ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
  15. ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
  16. ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
  17. ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากนํ้าปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  18. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
  19. ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
  20. ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899