ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

30 January, 2007

ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

การส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องมี ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ประกอบทุกครั้ง ใบรับรองดังกล่าว ใช้ประกอบ การส่งออก ในกรณีประเทศปลายทาง หรือผู้นำเข้าสัตว์น้ำ ที่มีการร้องขอเท่านั้น

ขั้นตอนการขอรับใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

1. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดเตรียม เอกสารประกอบการส่งตัวอย่างสัตว์น้ำ เพื่อขอรับการตรวจสุขภาพ
2. นำตัวอย่างสัตว์น้ำ พร้อมกรอกรายละเอียด ลงในคำร้อง ขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพของสัตว์น้ำ
3. ในกรณีที่ สัตว์น้ำมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีอาการป่วยของโรคใด ๆ ก็จะออกหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ให้ภายในเวลา 1 วันทำการ

ตัวอย่างใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรมประมง

26 January, 2007

FTA เกี่ยวข้องกับการประมงไทยอย่างไร

ในการประชุมวิชาการกรมประมงประจำปี2549ที่ผ่านมานอกเหนือจากการนำเสนอผลงานวิจัยภาคประมงที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังมีการอภิปรายในหัวข้อ”FTAกับการประมงไทย”โดยมีผู้ร่วมอภิปรายจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งในการประชุมนั้น มีผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง


ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

21 January, 2007

Q mark ต่อ

วิธีดำเนินการ
สินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง “Q” ลายเส้นรูปตัว Q สีเขียวเข้ม หางตัว Q เป็นสีธงชาติ รอบนอกตัว Q ล้อมด้วยข้อความสีดำ ด้านบนแสดงชื่อ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ด้านล่างแสดงรหัสหน่วยงานรับรอง ประเภทการรับรอง มาตรฐานที่ให้การรับรอง รหัสมาตรฐาน ผู้ประกอบการ/ฟาร์ม/บริษัทที่ได้รับการรับรอง และชื่อ/ชนิด/ประเภทสินค้าที่นำมาขอการรับรองมาตรฐาน
ประเภทของการับรอง 1. การรับรองสินค้า (Product Certificate) หมายถึง การตรวจสอบให้การรับรองสินค้า ที่เป็น ผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดยมีการสุ่มตัวอย่าง การสดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและ ความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าที่ให้การรับรอง ในขณะเดียวกันมีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือ กระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตมีความสามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตอยางสม่ำเสมอ ได้ตามมาตาฐานสินค้า และหน่วยรับรองที่จะให้การรับรองสินค้ามีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65:1996 เช่น เนื้อหมูอนามัย, ผักผลไม้สดปลอดภัย, กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง ซึ่งสามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง “Q” ไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้าได้ 2. การรับรองระบบ ( System Certification) หมายถึง การตรวจประเมินให้การรับรองระบบการผลิตโดยครอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารให้ได้มาตรฐานที่ใช้ในการรับรอง เช่น CoC, GAP, GMP, HACCP เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถแสดง เครื่องหมายรับรอง “Q” ที่ตัวสินค้า แต่ให้แสดงที่ส่วนอื่น เช่น เอกสารรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยหน่วยรับรองที่ให้การรับรองระบบ มีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 62 : 1996
------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เครื่องหมายรับรองสินค้า ให้แสดงไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้า
2. เครื่องหมายรับรองระบบ ให้แสดงบนเอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยไม่ให้แสดงที่ตัวสินค้า
3. การแสดงเครื่องหมายรับรองสินค้าที่มีขอบข่ายการรับรองเฉพาะประเภทการรับรอง หรือชนิดสินค้า ที่จำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคทราบ เช่น การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ให้ระบุข้อความแสดงขอบข่ายการรับรองประกอบการแสดงเครื่องหมาย
4. การแสดงเครื่องหมาย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

16 January, 2007

Q เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร


Q มาจากคำว่า Quality หมายถึง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ในการให้การรับรอง ระบบหรือสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อแสดงถึงความมีคุณภาพตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ความเป็นมาและความสำคัญของ Q
สืบเนื่องจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 3-2546 วันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัยพร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีการลงนามวันที่ 26 กันยายน 2546 ร่วมกัน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อผูกพันให้มีการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้ในแนวทางเดียวกัน และมีการดำเนินการตามวิธีการและแนวทางที่กำหนดไว้ใน MOU โดยหน่วยรับรองให้การรับรอง ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมายรับรอง "Q" ที่แสดงถึงความมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมกำกับดูแลการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ประโยชน์ของเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย
2. เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหาร
3. สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ในกรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือ กรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน

10 January, 2007

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก

กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก เพื่อใ ห้โรงงานและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ส่งออกจาก ประเทศไทยได้มาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

Image and video hosting by TinyPic

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

07 January, 2007

การขอรับการตรวจรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

ทราบหรือไม่ว่าเกษตรกรที่ประสงค์จะยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล สามารถที่จะยื่นขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล ได้ที่ใดบ้าง พร้อมเอกสารอะไรบ้างเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
เกษตรกรสามารถยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเลได้ที่ดังนี้
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง
2. ศูนย์ / สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจำจังหวัดชายทะเล
3. สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลที่รัฐอนุญาตให้เลี้ยงได้

เอกสารที่จะต้องนำมาเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
1. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและแผนที่ตั้งฟาร์ม / โรงเพาะฟัก 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง กรณีผู้ยื่นคำร้องมิใช่เจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล และหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
5. ในกรณีขอต่ออายุใบรับรอง ต้องแนบสำเนาใบรับรองที่หมดอายุ 1 ฉบับ

03 January, 2007

การดูแลสุขภาพกุ้ง


การเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา (intensive) นั้นปริมาณของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อจะมีความหนาแน่นสูง ถ้าระบบการจัดการไม่ดีพอจะทำให้กุ้งเครียดและเกิดโรคในที่สุดฉะนั้นการเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนานั้นต้องเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรค
การดูแลสุขภาพกุ้งทั้งในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการจัดการระบบการผลิต โดยเฉพาะเทคโนโลยีการตรวจโรคเช่น PCR ที่นำมาใช้จะช่วยป้องกันตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะลูกกุ้ง เมื่อเราตรวจพบเชื้อไวรัสในพ่อแม่พันธุ์ก็จะไม่นำมาเพาะ ในลูกกุ้งก็เช่นกันถ้าพบเชื้อไวรัสต้องหลีกเลี่ยงที่จะนำมาลงเลี้ยงในบ่อ เช่นเดียงกับในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก็ต้องดูแลสุขภาพของกุ้งที่เลี้ยงเมื่อสังเกตุพบเห็นความผิดปกติสามารถนำตัวอย่างกุ้งมาตรวจสอบและวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้การเพาะและเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเอาใจใส่ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็น การเตรียมน้ำ การปรับปรุงดินพื้นบ่อก่อนการปล่อยกุ้ง การทำความสะอาดบ่อและถังเพาะอนุบาล การจัดการการให้อาหาร การเพิ่มออกซิเจนในบ่อและการตรวจสุขภาพประจำวันทั้งหมดนี้ถ้าผู้เพาะเลี้ยงดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและลดการสูญเสียผลผลิตได้
3 มกราคม 2550 เวลา 19:33 น.
เทคนิค พี ซี อาร์ (PCR)
วิธีการดูแลสุขภาพกุ้ง
วิธีการเลี้ยงกุ้งคุณภาพ
วิธีการรักษาสุขภาพกุ้ง