ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

03 March, 2007

เกษตรฯบุกถกอินโดฯร่วมทุนประมง

"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550