ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

03 March, 2007

เกษตรฯบุกถกอินโดฯร่วมทุนประมง

"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550

24 February, 2007

ประกาศจากกรมประมง

ประกาศจากกรมประมงเรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานในการประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร

ด้วยกรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานอื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร อื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักรลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ ยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ในกรณียื่นขอนำฉลามทุกชนิด ทั้งมีชีวิตและซาก หรือเปลือกหอย เข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งออก ต้องแสดง หนังสือรับรองชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือหนังสือรับรองอื่นใดที่แสดงชนิดพันธุ์ซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐ (ประเทศต้นทาง) หรือหน่วยงานที่รัฐมอบหมาย ในการยื่นขออนุญาตนำเข้าแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ดูรายละเอียดประกาศคลิกที่นี่

13 February, 2007

องค์การสะพานปลา

องค์การสะพานปลา Fish Marketing Organization
  • ความเป็นมาของหน่วยงาน
    ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
    บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
    -บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
    -การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
    -จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
    -บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)

    บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
  • วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน
  1. พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
  2. สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
  3. ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว
  • ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
  1. จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
  2. จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
  3. จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
  4. จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
  5. สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิหรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
  6. กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ
  • อำนาจหน้าที่
  1. กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
  2. กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
  3. กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
  4. สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
  5. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
  6. งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
  7. งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข
  • การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
  1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
  2. การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
  3. การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
  4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส
  • โครงสร้าง-แผนผังองค์กร
  1. กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
  2. กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
  3. กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
  4. สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
  5. สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
  6. สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
  7. ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
  8. ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
  9. ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
  10. ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
  11. ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
  12. ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
  13. ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
  14. ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
  15. ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
  16. ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
  17. ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากนํ้าปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  18. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
  19. ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
  20. ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899

12 February, 2007

เงื่อนไขการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการควบคุมโรคเอสวีซีวีของประเทศสหรัฐอเมริกา

เงื่อนไขการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการควบคุมโรคเอสวีซีวีของประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันสุขภาพสัตว์น้ำจืด ขอประกาศกรมประมง เรื่อง สหรัฐอเมริกาเงื่อนไขการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการควบคุมโรคเอสวีซีวี เพื่อให้บุคคลากรกรมประมงได้รับรู้ข่าวสาร และสามารนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ 15 ตุลาคม 2549

04 February, 2007

CITES


ไซเตส (CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526

คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือ
สัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้
พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตร
สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมง
ปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน

จุดประสงค์ของ CITES คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)

สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

01 February, 2007

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากผู้ผลิต/ผู้ส่งออก

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมประมงดำเนินภารกิจรับโอนงานการตรวจวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดให้ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2546 กรมประมง จึงกำหนดหลักการ เงื่อนไข และวิธีดำเนินการ ดังต่อไปนี้

หลักการ
ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกต้องมาจากผู้ผลิตที่มีสุขลักษณะพื้นฐานที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice – GMP) ตามข้อกำหนดของกรมประมงหรือเทียบเท่าหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะ ทั่วไปของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและมีการจัดระบบคุณภาพ HACCP ตามความเหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์

เงื่อนไข
หลักเกณฑ์นี้ใช้เฉพาะกับผู้ผลิตที่เคยรับบริการจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้ผลิตที่ประสงค์จะส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางที่ไม่ได้อยู่ในความดูแลของกรมประมงก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2546
วิธีดำเนินการ

ที่มา : เวบไซต์กรมประมง

30 January, 2007

ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

การส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องมี ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ประกอบทุกครั้ง ใบรับรองดังกล่าว ใช้ประกอบ การส่งออก ในกรณีประเทศปลายทาง หรือผู้นำเข้าสัตว์น้ำ ที่มีการร้องขอเท่านั้น

ขั้นตอนการขอรับใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

1. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดเตรียม เอกสารประกอบการส่งตัวอย่างสัตว์น้ำ เพื่อขอรับการตรวจสุขภาพ
2. นำตัวอย่างสัตว์น้ำ พร้อมกรอกรายละเอียด ลงในคำร้อง ขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพของสัตว์น้ำ
3. ในกรณีที่ สัตว์น้ำมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีอาการป่วยของโรคใด ๆ ก็จะออกหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ให้ภายในเวลา 1 วันทำการ

ตัวอย่างใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรมประมง

26 January, 2007

FTA เกี่ยวข้องกับการประมงไทยอย่างไร

ในการประชุมวิชาการกรมประมงประจำปี2549ที่ผ่านมานอกเหนือจากการนำเสนอผลงานวิจัยภาคประมงที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังมีการอภิปรายในหัวข้อ”FTAกับการประมงไทย”โดยมีผู้ร่วมอภิปรายจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งในการประชุมนั้น มีผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง


ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

21 January, 2007

Q mark ต่อ

วิธีดำเนินการ
สินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง “Q” ลายเส้นรูปตัว Q สีเขียวเข้ม หางตัว Q เป็นสีธงชาติ รอบนอกตัว Q ล้อมด้วยข้อความสีดำ ด้านบนแสดงชื่อ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ด้านล่างแสดงรหัสหน่วยงานรับรอง ประเภทการรับรอง มาตรฐานที่ให้การรับรอง รหัสมาตรฐาน ผู้ประกอบการ/ฟาร์ม/บริษัทที่ได้รับการรับรอง และชื่อ/ชนิด/ประเภทสินค้าที่นำมาขอการรับรองมาตรฐาน
ประเภทของการับรอง 1. การรับรองสินค้า (Product Certificate) หมายถึง การตรวจสอบให้การรับรองสินค้า ที่เป็น ผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดยมีการสุ่มตัวอย่าง การสดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและ ความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าที่ให้การรับรอง ในขณะเดียวกันมีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือ กระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตมีความสามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตอยางสม่ำเสมอ ได้ตามมาตาฐานสินค้า และหน่วยรับรองที่จะให้การรับรองสินค้ามีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65:1996 เช่น เนื้อหมูอนามัย, ผักผลไม้สดปลอดภัย, กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง ซึ่งสามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง “Q” ไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้าได้ 2. การรับรองระบบ ( System Certification) หมายถึง การตรวจประเมินให้การรับรองระบบการผลิตโดยครอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารให้ได้มาตรฐานที่ใช้ในการรับรอง เช่น CoC, GAP, GMP, HACCP เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถแสดง เครื่องหมายรับรอง “Q” ที่ตัวสินค้า แต่ให้แสดงที่ส่วนอื่น เช่น เอกสารรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยหน่วยรับรองที่ให้การรับรองระบบ มีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 62 : 1996
------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เครื่องหมายรับรองสินค้า ให้แสดงไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้า
2. เครื่องหมายรับรองระบบ ให้แสดงบนเอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยไม่ให้แสดงที่ตัวสินค้า
3. การแสดงเครื่องหมายรับรองสินค้าที่มีขอบข่ายการรับรองเฉพาะประเภทการรับรอง หรือชนิดสินค้า ที่จำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคทราบ เช่น การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ให้ระบุข้อความแสดงขอบข่ายการรับรองประกอบการแสดงเครื่องหมาย
4. การแสดงเครื่องหมาย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

16 January, 2007

Q เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร


Q มาจากคำว่า Quality หมายถึง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ในการให้การรับรอง ระบบหรือสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อแสดงถึงความมีคุณภาพตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ความเป็นมาและความสำคัญของ Q
สืบเนื่องจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 3-2546 วันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัยพร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีการลงนามวันที่ 26 กันยายน 2546 ร่วมกัน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อผูกพันให้มีการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้ในแนวทางเดียวกัน และมีการดำเนินการตามวิธีการและแนวทางที่กำหนดไว้ใน MOU โดยหน่วยรับรองให้การรับรอง ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมายรับรอง "Q" ที่แสดงถึงความมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมกำกับดูแลการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ประโยชน์ของเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย
2. เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหาร
3. สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ในกรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือ กรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน

10 January, 2007

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก

กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก เพื่อใ ห้โรงงานและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ส่งออกจาก ประเทศไทยได้มาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

Image and video hosting by TinyPic

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

07 January, 2007

การขอรับการตรวจรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

ทราบหรือไม่ว่าเกษตรกรที่ประสงค์จะยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล สามารถที่จะยื่นขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล ได้ที่ใดบ้าง พร้อมเอกสารอะไรบ้างเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
เกษตรกรสามารถยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเลได้ที่ดังนี้
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง
2. ศูนย์ / สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจำจังหวัดชายทะเล
3. สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลที่รัฐอนุญาตให้เลี้ยงได้

เอกสารที่จะต้องนำมาเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
1. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและแผนที่ตั้งฟาร์ม / โรงเพาะฟัก 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง กรณีผู้ยื่นคำร้องมิใช่เจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล และหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
5. ในกรณีขอต่ออายุใบรับรอง ต้องแนบสำเนาใบรับรองที่หมดอายุ 1 ฉบับ

03 January, 2007

การดูแลสุขภาพกุ้ง


การเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา (intensive) นั้นปริมาณของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อจะมีความหนาแน่นสูง ถ้าระบบการจัดการไม่ดีพอจะทำให้กุ้งเครียดและเกิดโรคในที่สุดฉะนั้นการเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนานั้นต้องเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรค
การดูแลสุขภาพกุ้งทั้งในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการจัดการระบบการผลิต โดยเฉพาะเทคโนโลยีการตรวจโรคเช่น PCR ที่นำมาใช้จะช่วยป้องกันตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะลูกกุ้ง เมื่อเราตรวจพบเชื้อไวรัสในพ่อแม่พันธุ์ก็จะไม่นำมาเพาะ ในลูกกุ้งก็เช่นกันถ้าพบเชื้อไวรัสต้องหลีกเลี่ยงที่จะนำมาลงเลี้ยงในบ่อ เช่นเดียงกับในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก็ต้องดูแลสุขภาพของกุ้งที่เลี้ยงเมื่อสังเกตุพบเห็นความผิดปกติสามารถนำตัวอย่างกุ้งมาตรวจสอบและวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้การเพาะและเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเอาใจใส่ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็น การเตรียมน้ำ การปรับปรุงดินพื้นบ่อก่อนการปล่อยกุ้ง การทำความสะอาดบ่อและถังเพาะอนุบาล การจัดการการให้อาหาร การเพิ่มออกซิเจนในบ่อและการตรวจสุขภาพประจำวันทั้งหมดนี้ถ้าผู้เพาะเลี้ยงดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและลดการสูญเสียผลผลิตได้
3 มกราคม 2550 เวลา 19:33 น.
เทคนิค พี ซี อาร์ (PCR)
วิธีการดูแลสุขภาพกุ้ง
วิธีการเลี้ยงกุ้งคุณภาพ
วิธีการรักษาสุขภาพกุ้ง