"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550"จรัลธาดา"แนะจับตาน่านน้ำ"ติมอร์"แหล่งปลาหมึก นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตเข้าทำการประมงในน่านน้ำภายในประเทศใหม่ จากเดิมที่มีการให้สัญญาสัมปทานการเข้าทำประมงแก่เรือประมงต่างประเทศ มาเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (Join-venture) ในเบื้องต้นไทยได้เตรียมแผนการเจรจาระหว่างกันไว้แล้ว โดยอยู่ระหว่างรอการตอบรับจากรัฐบาลของอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเปิดเจรจาระหว่างกันได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการเจรจาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมลงทุนการทำประมงระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศอย่างสูงที่สุด ซึ่งหากมีการร่วมลงทุนระหว่างกัน รูปแบบการลงทุนที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียได้ น่าจะเป็นลักษณะของโรงงานแปรรูปสินค้าประมง โรงงานซูริมิ และโรงงานปลาป่น นายธีระ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนสาเหตุที่ประเทศอินโดนีเซียปรับรูปแบบการทำประมงในน่านน้ำใหม่นั้น เพื่อต้องการพัฒนาการทำประมงภายในประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเพื่อต้องการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำภายในประเทศของตนเอง หรือหากมีการใช้ประโยชน์ก็ต้องการให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมามีหลายประเทศ ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ด้าน นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับแหล่งทำประมงนอกน่านน้ำที่น่าสนใจอื่นๆ คือ ประเทศติมอร์ เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาหมึก ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย แต่นับวันการจับปลาหมึกในน่านน้ำของไทย ทั้งบริเวณอ่าวไทยและแถบทะเลอันดามันเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน เบื้องต้นกรมฯ หาทางเจรจาเปิดน่านน้ำเป็นแหล่งประมงแห่งใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และถ้าหากไทยสามารถเข้าทำประมงในน่านน้ำประเทศติมอร์ได้เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 9469 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550
ประกาศจากกรมประมงเรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานในการประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร
ด้วยกรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง เอกสารหรือ หลักฐานอื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักร อื่นเพื่อใช้ประกอบการขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้าในราชอาณาจักรลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ ยื่นคำขออนุญาตนำสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ในกรณียื่นขอนำฉลามทุกชนิด ทั้งมีชีวิตและซาก หรือเปลือกหอย เข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งออก ต้องแสดง หนังสือรับรองชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือหนังสือรับรองอื่นใดที่แสดงชนิดพันธุ์ซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐ (ประเทศต้นทาง) หรือหน่วยงานที่รัฐมอบหมาย ในการยื่นขออนุญาตนำเข้าแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ดูรายละเอียดประกาศคลิกที่นี่
องค์การสะพานปลา Fish Marketing Organization
ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)

-บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
-การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
-จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
-บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
- วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน
- พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
- สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
- ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว
- จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
- จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
- จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
- จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
- สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิหรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
- กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ
- กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
- กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
- กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
- สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
- สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
- งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
- งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข
- การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
- การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
- การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
- การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
- การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส
- กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
- กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
- กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
- สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
- สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
- สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
- ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
- ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
- ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
- ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
- ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
- ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
- ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
- ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
- ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
- ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
- ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากนํ้าปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
- สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
- ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
- ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
เงื่อนไขการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการควบคุมโรคเอสวีซีวีของประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันสุขภาพสัตว์น้ำจืด ขอประกาศกรมประมง เรื่อง สหรัฐอเมริกาเงื่อนไขการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเพื่อการควบคุมโรคเอสวีซีวี เพื่อให้บุคคลากรกรมประมงได้รับรู้ข่าวสาร และสามารนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ 15 ตุลาคม 2549

ไซเตส (CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526
คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือ
สัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้
พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตร
สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมง
ปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน
จุดประสงค์ของ CITES คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)
สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมประมงดำเนินภารกิจรับโอนงานการตรวจวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดให้ เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2546 กรมประมง จึงกำหนดหลักการ เงื่อนไข และวิธีดำเนินการ ดังต่อไปนี้
หลักการ
ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกต้องมาจากผู้ผลิตที่มีสุขลักษณะพื้นฐานที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice – GMP) ตามข้อกำหนดของกรมประมงหรือเทียบเท่าหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะ ทั่วไปของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและมีการจัดระบบคุณภาพ HACCP ตามความเหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์
เงื่อนไข
หลักเกณฑ์นี้ใช้เฉพาะกับผู้ผลิตที่เคยรับบริการจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้ผลิตที่ประสงค์จะส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางที่ไม่ได้อยู่ในความดูแลของกรมประมงก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2546
วิธีดำเนินการ
ที่มา : เวบไซต์กรมประมง
การส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องมี ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ประกอบทุกครั้ง ใบรับรองดังกล่าว ใช้ประกอบ การส่งออก ในกรณีประเทศปลายทาง หรือผู้นำเข้าสัตว์น้ำ ที่มีการร้องขอเท่านั้น
ขั้นตอนการขอรับใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ
1. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดเตรียม เอกสารประกอบการส่งตัวอย่างสัตว์น้ำ เพื่อขอรับการตรวจสุขภาพ
2. นำตัวอย่างสัตว์น้ำ พร้อมกรอกรายละเอียด ลงในคำร้อง ขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพของสัตว์น้ำ
3. ในกรณีที่ สัตว์น้ำมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีอาการป่วยของโรคใด ๆ ก็จะออกหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ให้ภายในเวลา 1 วันทำการ
ตัวอย่างใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ
สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรมประมง
ในการประชุมวิชาการกรมประมงประจำปี2549ที่ผ่านมานอกเหนือจากการนำเสนอผลงานวิจัยภาคประมงที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังมีการอภิปรายในหัวข้อ”FTAกับการประมงไทย”โดยมีผู้ร่วมอภิปรายจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งในการประชุมนั้น มีผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง
ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
วิธีดำเนินการ
สินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง “Q” ลายเส้นรูปตัว Q สีเขียวเข้ม หางตัว Q เป็นสีธงชาติ รอบนอกตัว Q ล้อมด้วยข้อความสีดำ ด้านบนแสดงชื่อ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ด้านล่างแสดงรหัสหน่วยงานรับรอง ประเภทการรับรอง มาตรฐานที่ให้การรับรอง รหัสมาตรฐาน ผู้ประกอบการ/ฟาร์ม/บริษัทที่ได้รับการรับรอง และชื่อ/ชนิด/ประเภทสินค้าที่นำมาขอการรับรองมาตรฐาน
ประเภทของการับรอง 1. การรับรองสินค้า (Product Certificate) หมายถึง การตรวจสอบให้การรับรองสินค้า ที่เป็น ผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดยมีการสุ่มตัวอย่าง การสดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและ ความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าที่ให้การรับรอง ในขณะเดียวกันมีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือ กระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตมีความสามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตอยางสม่ำเสมอ ได้ตามมาตาฐานสินค้า และหน่วยรับรองที่จะให้การรับรองสินค้ามีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65:1996 เช่น เนื้อหมูอนามัย, ผักผลไม้สดปลอดภัย, กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง ซึ่งสามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง “Q” ไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้าได้ 2. การรับรองระบบ ( System Certification) หมายถึง การตรวจประเมินให้การรับรองระบบการผลิตโดยครอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารให้ได้มาตรฐานที่ใช้ในการรับรอง เช่น CoC, GAP, GMP, HACCP เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถแสดง เครื่องหมายรับรอง “Q” ที่ตัวสินค้า แต่ให้แสดงที่ส่วนอื่น เช่น เอกสารรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยหน่วยรับรองที่ให้การรับรองระบบ มีการจัดระบบมาตรฐาน ISO/IEC Guide 62 : 1996
------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารหรือเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เครื่องหมายรับรองสินค้า ให้แสดงไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้า
2. เครื่องหมายรับรองระบบ ให้แสดงบนเอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร เอกสารการโฆษณาเผยแพร่ โดยไม่ให้แสดงที่ตัวสินค้า
3. การแสดงเครื่องหมายรับรองสินค้าที่มีขอบข่ายการรับรองเฉพาะประเภทการรับรอง หรือชนิดสินค้า ที่จำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคทราบ เช่น การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ให้ระบุข้อความแสดงขอบข่ายการรับรองประกอบการแสดงเครื่องหมาย
4. การแสดงเครื่องหมาย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

Q มาจากคำว่า Quality หมายถึง เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ที่หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ในการให้การรับรอง ระบบหรือสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อแสดงถึงความมีคุณภาพตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ความเป็นมาและความสำคัญของ Q
สืบเนื่องจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 3-2546 วันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัยพร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีการลงนามวันที่ 26 กันยายน 2546 ร่วมกัน 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อผูกพันให้มีการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้ในแนวทางเดียวกัน และมีการดำเนินการตามวิธีการและแนวทางที่กำหนดไว้ใน MOU โดยหน่วยรับรองให้การรับรอง ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมายรับรอง "Q" ที่แสดงถึงความมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมกำกับดูแลการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ประโยชน์ของเครื่องหมายรับรอง "Q"
1. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย
2. เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหาร
3. สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ในกรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือ กรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก
กรมประมงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำส่งออก เพื่อใ ห้โรงงานและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ส่งออกจาก ประเทศไทยได้มาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งสามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่
กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
ทราบหรือไม่ว่าเกษตรกรที่ประสงค์จะยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล สามารถที่จะยื่นขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล ได้ที่ใดบ้าง พร้อมเอกสารอะไรบ้างเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
เกษตรกรสามารถยื่นคำขอใบรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเลได้ที่ดังนี้
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง
2. ศูนย์ / สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจำจังหวัดชายทะเล
3. สำนักงานประมงจังหวัดชายทะเลที่รัฐอนุญาตให้เลี้ยงได้
เอกสารที่จะต้องนำมาเพื่อยื่นคำร้องขอรับการตรวจรับรอง
1. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและแผนที่ตั้งฟาร์ม / โรงเพาะฟัก 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล 1 ฉบับ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง กรณีผู้ยื่นคำร้องมิใช่เจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล / โรงเพาะฟักและอนุบาลกุ้งทะเล และหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
5. ในกรณีขอต่ออายุใบรับรอง ต้องแนบสำเนาใบรับรองที่หมดอายุ 1 ฉบับ
การเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา (intensive) นั้นปริมาณของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อจะมีความหนาแน่นสูง ถ้าระบบการจัดการไม่ดีพอจะ

ทำให้กุ้งเครียดและเกิดโรคในที่สุดฉะนั้นการเพาะเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนานั้นต้องเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรค
การดูแลสุขภาพกุ้งทั้งในโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยงต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการจัดการระบบการผลิต โดยเฉพาะเทคโนโลยีการตรวจโรคเช่น PCR ที่นำมาใช้จะช่วยป้องกันตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะลูกกุ้ง เมื่อเราตรวจพบเชื้อไวรัสในพ่อแม่พันธุ์ก็จะไม่นำมาเพาะ ในลูกกุ้งก็เช่นกันถ้าพบเชื้อไวรัสต้องหลีกเลี่ยงที่จะนำมาลงเลี้ยงในบ่อ เช่นเดียงกับในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก็ต้องดูแลสุขภาพของกุ้งที่เลี้ยงเมื่อสังเกตุพบเห็นความผิดปกติสามารถนำตัวอย่างกุ้งมาตรวจสอบและวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้การเพาะและเลี้ยงกุ้งทะเลจะต้องเอาใจใส่ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็น การเตรียมน้ำ การปรับปรุงดินพื้นบ่อก่อนการปล่อยกุ้ง การทำความสะอาดบ่อและถังเพาะอนุบาล การจัดการการให้อาหาร การเพิ่มออกซิเจนในบ่อและการตรวจสุขภาพประจำวันทั้งหมดนี้ถ้าผู้เพาะเลี้ยงดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและลดการสูญเสียผลผลิตได้
3 มกราคม 2550 เวลา 19:33 น.
เทคนิค พี ซี อาร์ (PCR)วิธีการดูแลสุขภาพกุ้งวิธีการเลี้ยงกุ้งคุณภาพวิธีการรักษาสุขภาพกุ้ง