ยินดีต้อนรับเข้าสู่Blog วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมงกลุ่มที่ 14

28 December, 2006

การพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง



ในอดีตประเทศไทยมีการเลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติ (extensive) บริเวณอ่าวไทยตอนในมีจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี แลชะบริเวณใกล้เคียงต่อมาสามารถเพาะลูกกุ้งทะเลได้ในโรงเพาะฟักผู้เลี้ยงนำลูกกุ้งที่เพาะได้มาปล่อยเสริมใน่อเลี้ยงแบบธรรมชาติที่ปรับให้มีขนาดเล็กลงและเลี้ยงด้วยอาหารเสริมเช่น ปลาสับ รำผสมปลายข้าว เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตเป็นการเลี้ยงกุ้งแบบกึ่งพัฒนา (semi-intensive) และขยายตัวไปบริเวณภาคใต้ของประเทศ
การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลแบบพัฒนาได้เริ่มราวประมาณปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมาโดยได้นำเทคโนโลยีการเลี้ยงแบบพัฒนามาจากประเทศไต้หวัน เกษตรกรมีความขยันและมีความคิดดัดแปลงทำให้สามารถปรับปรุงวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมกับภูมิประเทศของประเทศไทยจึงทำให้การเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาเป้นไปอย่างรวดเร็วมีผลตอบแทนสูงระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลงประมาณ 4 - 5 เดือนและขยายตัวไปตามจังหวัดชายทะเลของประเทศไทยที่ผ่านมาการขยายตัวของการเลี้ยงกุ้งทะเลแบบพัฒนาทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคและผลกระทบสิ่งแวดล้อมตัวอย่างเช่น ราคาผลผลิตตกต่ำ ปัญหาโรคระบาดและน้ำทิ้ง ตะกอนเลนที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมทำให้สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเสียหาย กรมประมงได้ทำการแก้ไขปัญหาโดยพัฒนาระบบการจัดการการเลี้ยงกุ้งระบบต่างๆอาทิเช่น การเลี้ยงกุ้งระบบปิด เป็นการจัดการเลี้ยงกุ้งที่เกษตรกรไม่ใช้น้ำแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเติมเข้ามาในบ่อเลี้ยงกุ้งโดยตรง ภายหลังจากที่ได้ปล่อยกุ้งลงเลี้ยงแล้ว อย่างไรก็ตามเนื่องจากระหว่างการเลี้ยงกุ้งจะมีระเหย หรือการรั่วซึมของน้ำ เกษตรกรอาจจะต้องเติมน้ำลงไปในบ่อบ้างเล็กน้อย เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับเหมาะสมต่อการจัดการเลี้ยงกุ้ง
เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งระบบชีวภาพ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการจัดการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีนี้เน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ แพลงก์ตอน สาหร่าย หอย ปลา สัตว์ หน้าดิน ในการจัดการย่อยสลาย และควบคุมของเสียจำพวกสารอินทรีย์และธาตุอาหาร ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงไปจนกระทั้งจับกุ้ง เพื่อไม่ให้ของเสียจากการเลี้ยงกุ้งส่งผลต่อการจัดการเลี้ยง จนทำให้เกษตรกรต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีมาแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
ดินก้นบ่อเลี้ยงเป็นบริเวณที่ถ้าจัดการไม่ถูกต้องมีปัญหาต่อเนื่องถึงการผลิตรอบต่อไปมากที่สุด เพราะหากเราเตรียมดินก้นบ่อเลี้ยงไม่ดีหรือเร่งหลังจากที่เราเติมน้ำลงไปแล้วการจัดการพื้นก้นบ่ออย่างมีประสิทธิภาพจะทำได้ยาก จนกว่าเราจะจับกุ้งอีกครั้งหนึ่ง ดินก้นบ่อหลังจากจับกุ้งเป็นดินที่ขาดออกซิเจน มีสารอินทรีย์ ธาตุอาหารและสารประกอบที่เป็นพิษต่อกุ้งอยู่ในปริมาณสูง ดังนั้น การเตรียมบ่อควรจะต้องพิจารณาวิธีการทำให้หน้าดินที่ขาดอออกซิเจนได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อให้สารประกอบที่เป็นพิษต่อกุ้งสลายตัว และ ปรับสภาพของเลนให้เหมาะต่อการบำบัดสารอินทรีย์ ต้องเร่งให้มีการย่อยสลายของเสียเกิดขึ้นในบ่อ เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ในเลน
ในปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งได้พัฒนาระบบการจัดการให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไป ซึ่งผู้เลี้ยงได้พัฒนาตามแบบที่ตนเองเคยใช้อยู่ให้เข้ามาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยยึดเทคโนโลยีข้างต้นเป็นแนวทางปฏิบัติ
ระบบปิด
ระบบชีวภาพ
การเตรียมดินและน้ำ

No comments: